Warning: sprintf(): Too few arguments in /home/customer/www/allin-news.com/public_html/wp-content/themes/darknews/lib/breadcrumb-trail/inc/breadcrumbs.php on line 254
กองทัพสหรัฐ ต้องมองย้อนไปถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้น หลังจากการล่มสลายกองทัพอัฟกัน ต่อกลุ่มตอลิบาน
การล่มสลายกองทัพอัฟกัน ที่ยอมให้นักรบตอลิบาน เข้าควบคุมคาบูลได้จุดไฟให้เห็นถึงข้อผิดพลาดที่กองทัพสหรัฐได้กระทำมาเป็นเวลากว่า 20 ปี เนื่องจากได้เผาผลาญเงินหลายพันล้านเหรียญไปในอัฟกานิสถานแต่กลับไม่ได้ผลลัพธ์อะไรกลับมา โดยวอชิงตันใช้เงินไป 83 พันล้านดอลลาร์เพื่อสร้างกองทัพสมัยใหม่ที่สะท้อนถึงแสนยานุภาพของตนเอง
และในทางปฏิบัติ นั่นหมายถึงการพึ่งพาการสนับสนุนทางอากาศอย่างมากและเครือข่ายการสื่อสารที่มีเทคโนโลยีขั้นสูงในประเทศที่มีประชากรเพียง 30 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่สามารถเข้าถึงไฟฟ้าและโลกสมัยใหม่ได้ ทั้งเครื่องบิน, เฮลิคอปเตอร์, โดรน, รถหุ้มเกราะ หรือแว่นตามองกลางคืน กองทัพสหรัฐฯช่วยเต็มที่ในการเตรียมกองทัพอัฟกัน
และเมื่อไม่นานมานี้ยังมอบเฮลิคอปเตอร์โจมตีแบล็กฮอว์กรุ่นล่าสุดให้กับกองทัพอัฟกันอีกด้วย แต่ชาวอัฟกันที่มีหลายคนไม่รู้หนังสือ และถึงแม้จะมีอาวุธและอุกรณ์ทางทหารที่ดีจากสหรัฐเพียงใด ก็ไม่สามารถต้านทานการโจมตีอย่างรุนแรงและต่อเนื่องจากกลุ่มตอลิบานได้ จนเสียเมืองหลวงคาบูลในที่สุด

การล่มสลายกองทัพอัฟกัน ส่งผลให้ไม่สามารถยืนหยัดต่อสู้กับกลุ่มตอลิบานที่มีจิตใจในการสู้รบมากกกว่า
ข่าวต่างประเทศ การล่มสลายกองทัพอัฟกันJohn Sopko ผู้ตรวจการพิเศษของสหรัฐฯ เพื่อการบูรณะอัฟกานิสถาน (SIGAR) กล่าวว่า สหรัฐ ประเมินความสามารถของกองทัพอัฟกันสูงเกินไป และในสถานการณ์ปัจจุบันจึงได้รับรู้ว่ากองทัพอัฟกันไร้ศักยภาพในตัวเองรายงานล่าสุดของสำนักงานของเขาต่อสภาคองเกรส ซึ่งยื่นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว กล่าวว่า “ระบบอาวุธขั้นสูง ยานพาหนะ
และการขนส่งที่ใช้โดยกองทัพตะวันตกนั้นอยู่นอกเหนือความสามารถของกองกำลังอัฟกานิสถานที่ไม่รู้หนังสือและไม่ได้รับการศึกษาเป็นส่วนใหญ่” และมีเพียงร้อยละ 60 ของกองทัพอัฟกันที่ได้รับการฝึกฝนให้เป็นนักรบ นอกจากนี้ รายงานของ SIGAR กล่าวว่าการหนีทัพเป็นปัญหาสำหรับกองทัพอัฟกันมาโดยตลอด
โดยพบว่าในปี 2020 กองทัพอัฟกันต้องเปลี่ยนกำลัง 25 เปอร์เซ็นต์ในแต่ละปี ส่วนใหญ่เป็นเพราะการหนีทัพ ซึ่งทหารอเมริกันที่ทำงานร่วมกับชาวอัฟกันก็มองว่าอัตรานี้เป็นเรื่องปกติที่ทหารอัฟกันที่หนีทัพ

หลังจากที่กองทัพสหรัฐถอนกำลังออกมา กองทัพอัฟกันก็ไม่สามารถยืนหยัดได้ด้วยตนเองอีกต่อไป
การล่มสลายกองทัพอัฟกันที่แย่ไปกว่านั้น กระทรวงกลาโหมสหรัฐได้จ่ายเงินเดือนแก่ กองทัพอัฟกัน มาหลายปีแล้ว แต่นับตั้งแต่วินาทีที่กองทัพอเมริกันประกาศถอนตัวตามแผนในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ความรับผิดชอบสำหรับการจ่ายเงินเหล่านั้นก็ตกอยู่ที่รัฐบาลอัฟกัน ทหารอัฟกันจำนวนมากบ่นในโซเชียลมีเดียว่าพวกเขาไม่เพียงแต่ไม่ได้รับเงินในเดือนเท่านั้น
ในบางกรณีหน่วยของพวกเขาไม่ได้รับอาหารหรือเสบียงอีกต่อไป หรือแม้แต่กระสุนปืน นี่เป็นการตอกย้ำของความล้มเหลวอย่างแท้จริงภายใต้การยืนด้วยขาตนเองกองรัฐบาลอัฟกัน ทำให้ตอนนี้กลุ่มตอลิบานที่กำลังรุกคืบเพื่อยึดดินแดนทั่วประเทศได้อย่างเบ็ดเสร็จ
และรัฐบาลไม่คิดจะยืนหยัดสู้ รวมถึงตัวประธานาธิบดีอย่างนาย อัชราฟ กานี ก็ได้หลบหนีออกนอกประเทศเรียบร้อยแล้ว ทำให้ประชาชนชาวอัฟกันทั่วประเทศรู้สึกเหมือนถูกหักหลังจากคนที่น่าจะไว้ใจได้ ประชาชนบางคนกล่าวว่า “ตนรู้สึกว่า อดีตประธานาธิบดีได้ทิ้งให้ประเทศและผู้คนอยู่กันเองในสภาพที่ย่ำแย่ พระเจ้าจะเป็นผู้ทำให้เขาต้องชดใช้ในเรื่องนี้แน่นอนในอนาคต”
ข่าว 16 สิงหาคม 64 เวลา 07.15