

การหาเสียง การเลือกตั้ง ประธานาธิบดีของประเทศนิการากัว เริ่มต้นขึ้นอย่างเป็นทางการ เมื่อวันเสาร์นี้ ตามเวลาท้องถิ่น นายแดเนียล ออร์เตกา ชายวัย 75 ปีที่เริ่มมีอำนาจตั้งแต่ปี 2007 และดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนปัจจุบัน จะแสวงหาวาระที่สี่ติดต่อกัน ในการลงคะแนนเสียงในวันที่ 7 พฤศจิกายนนี้ แม้ว่าจะมีการประณามจากนานาชาติต่อรัฐบาลที่กักขังบุคคลฝ่ายค้าน 37 คนตั้งแต่เดือนมิถุนายน
นอกจากนี้ ออร์เตกา ได้เลือก โรซาริโอ มูริลโล ภริยาของเขาวัย 70 ปี เป็นรองประธานาธิบดีตั้งแต่ปี 2017 ในการเลือกตั้งครั้งนี้ พวกเขาจะมีคู่แข่งเล็กน้อย จากผู้สมัครจากพรรคฝ่ายขวา ที่ไม่ค่อยมีคนรู้จัก 5 พรรค ซึ่งเป็นกลุ่มเล็กๆ ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมโดย หน่วยงานเลือกตั้งของรัฐบาล
“ผู้คนรู้ดีว่ากระบวนการเลือกตั้งจะไม่มีความโปร่งใส และเป็นที่รู้กันดีว่าได้มีการ กำหนดล่วงหน้าแล้วว่าเขาจะเป็นผู้ชนะ” เอ็ดการ์ พาร์ราเลส อดีตนักการทูต และนักวิเคราะห์ นิการากัว กล่าว
การจงใจจับกุม เพื่อหวังผลในการเลือกตั้งของทางรัฐบาล ซึ่งนายออร์เตกา ถูกกล่าวหาว่า ตั้งใจทำลายเสถียรภาพทางการเมือง มีการสรุปจำนวนของฝ่ายค้าน ที่ตกเป็นเหยื่อการจับกุม ในบ้าน และในเวลากลางคืนตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน จำนวนนี้รวมไปถึงผู้สมัคร ลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีกว่า 7 คน การจับกุมข้อกล่าวหาดังกล่าว มีรากฐานมาจากกฎหมาย ที่ริเริ่มโดย ออร์เตกา
และได้รับการอนุมัติ จากรัฐสภาในเดือน ธันวาคม ซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์ อย่างกว้างขวาง ว่าเป็นวิธีการระงับผู้ท้าชิงและปิดปากฝ่ายตรงข้าม นอกจากนี้ ประธานาธิบดี ยังกล่าวหา ผู้ที่เขาจับกุมว่า พยายามโค่นล้มเขา ด้วยการสนับสนุนจาก สหรัฐฯ ผู้ถูกกล่าวหาส่วนใหญ่ อยู่ในที่คุมขัง เพื่อรอการ พิจารณาคดี
การจับกุม คนแรกที่ถูกควบคุมตัวคือ คริสเตียนา ชามอร์โร บาร์รีโอส ซึ่งถูกมองว่าเคยได้ รับเลือกตั้งชนะ ออร์เตกา แต่ปัจจุบันถูกกล่าวหาว่าฟอกเงิน เมื่อเดือนที่แล้ว แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวว่าการเลือกตั้งในเดือนพฤศจิกายนของนิการากัว เป็นกระบวนการที่สูญเสีย ความน่าเชื่อถือทั้งหมด และกล่าวหาระบอบ ออร์เตกา ว่า
เป็นการกระทำที่ ไม่เป็นประชาธิปไตย และส่อเป็นเผด็จการ ทางด้าน มิเชล บาเชเลต์ หัวหน้าฝ่ายสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ และ องค์กรสิทธิมนุษยชนแห่งรัฐอเมริกัน (OAS) เรียกร้องให้นิการากัว ปล่อยตัวผู้ต้องขัง แต่ออร์เตกาปฏิเสธที่จะปฏิบัติตาม นอกจากตัวเลขฝ่ายค้าน 37 คนแล้ว
ยังมีชาว นิการากัว อีกราว 100 คนยังคง ถูกคุมขัง เนื่องจากมีส่วนในการประท้วง ต่อต้านรัฐบาลในปี 2018 ซึ่งถูกรัฐบาลปราบปรามอย่างรุนแรง ผู้สังเกตการณ์กล่าวว่า มีผู้เสียชีวิตกว่า 300 คนในการปราบปราม และหลายพันคนถูกบีบ ให้หนีไป ต่างประเทศ ซึ่งมีประชากร 6.5 ล้านคน