ซูดาน มีท่าเรือสำคัญ ในทะเลแดง เป็นที่ต้องการของมหาอำนาจ ระดับภูมิภาค
ท่าเรือ ยุทธศาสตร์บริเวณทะเลแดงของ ซูดาน ถูกผู้ประท้วงปิดล้อมเป็นเวลา 1 เดือนแล้ว และกำลังได้รับความสนใจ จากมหาอำนาจทั่วโลก ที่อยู่นอกเหนือพรมแดน ของแอฟริกามาช้านาน เนื่องด้วยทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ทองคำและความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเล ผืนทรายสีขาว
และป่าชายเลนที่งดงาม ราวภาพวาดแห่งนี้ ทอดตัวยาวประมาณ 714 กิโลเมตร (444 ไมล์) จากพรมแดนของซูดานกับอียิปต์ทางตอนเหนือถึงเอริเทรียทางตอนใต้ “ท่าเรือทะเลแดงของซูดานเป็นศูนย์กลางการค้าสำหรับประเทศเพื่อนบ้านที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล
เช่นประเทศ ชาด เอธิโอเปีย และแอฟริกากลาง” อาเหม็ด มาห์กูบ หัวหน้าเจ้าหน้าที่ของท่าเรือ ซูดาน กล่าวกับเอเอฟพี แต่การจราจรผ่านศูนย์กลางเส้นทางทะเลหลักของ ซูดานบริเวณท่าเรือซูดานกำลังเป็นอัมพาต เนื่องจากการประท้วงต่อต้านรัฐบาลปะทุขึ้นในช่วงกลางเดือนกันยายน ท่ามกลางความไม่แยแส กับผู้มีอำนาจทางการเมือง
และมันกำลังส่งผลต่อเศรษฐกิจของภูมิภาค ดังนั้นตั้งแต่เดือนตุลาคม การค้าส่วนใหญ่ได้เปลี่ยนเส้นทางผ่านท่าเรือไปยังภูมิภาคอื่นๆ และส่วนใหญ่ผ่านประเทศอียิปต์แทน
การประท้วง ใน ซูดาน เกิดจากการยุยงประชาชนจากอีกกลุ่มอำนาจทางการเมือง

ทั้งนี้ การประท้วงเป็นเพียง บทล่าสุด ในรอบหลายทศวรรษ ของการต่อสู้ทางการเมืองของชนเผ่า ที่มีต่อชนชั้นการปกครองในประเทศ ซึ่งผู้ประท้วงส่วนหนึ่งได้รับแรงหนุนจากพันธมิตร ทางการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปของซูดานภายใต้ประธานาธิบดีโอมาร์ อัล-บาชีร์ที่ถูกโค่นอำนาจลง
เขาถูกขับออกจากตำแหน่ง ในเดือนเมษายน 2019 หลังจากการประท้วงของประชาชนมานานกว่า 3 ทศวรรษในช่วงเวลาของเขา ซึ่งผู้ประท้วงกล่าวว่า พวกเขาคัดค้านข้อตกลง สันติภาพ ในเดือนตุลาคม 2020 ระหว่างรัฐบาลเฉพาะกาลของ บาชีร์ กับกลุ่มกบฏ เนื่องจากพวกเขาอ้างว่า “เขาไม่ใช่ตัวแทนของประชาชนอย่างแท้จริง”
เป็นจุดยุทธศาสตร์ทางการทหารที่สำคัญ

ข่าว การประท้วงในภาคตะวันออก ยังจุดชนวนให้เกิดความไม่สงบ ในกรุงคาร์ทูม เมืองหลวง ที่ซึ่งการชุมนุมสนับสนุนทหารปะทุขึ้น เมื่อวันเสาร์ เรียกร้องให้มีการยุบรัฐบาลเฉพาะกาล แต่สำหรับมหาอำนาจจากต่างประเทศ ที่ต้องการชายฝั่งทะเลแดง ของซูดานนั้นมองว่า ภูมิภาคนี้ มีความหมายอย่างมาก ต่อเชิงยุทธศาสตร์ทางทหาร
จุดนี้ เป็นท่าเรือหลัก กองเรือรบอิหร่าน มาเป็นเวลาหลายสิบปี ภายใต้การปกครอง ของประธานาธิบดีโอมาร์ อัล-บาชีร์ ซึ่งได้สร้างความผิดหวังให้ กับคู่แข่งระดับภูมิภาคของ เตหะราน อย่าง ซาอุดิอาระเบีย ซึ่งท่าเรือในเขตทะเลแดง ของ เจดดาห์ ตั้งอยู่ตรงข้ามท่าเรือ ซูดานอีกฟากหนึ่งของทะเล
และในปี 2017 ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิมีร์ ปูติน และอัล-บาชีร์ ได้เจรจาเรื่องการสร้างฐานทัพเรือในท่าเรือซูดาน โดยมีการประจำการเจ้าหน้าที่ทหาร และพลเรือนมากถึง 300 นาย รวมถึงเรือรัสเซีย ที่ใช้พลังงานนิวเคลียร์ด้วย และในปีเดียวกันนั้นเอง บาชีร์ยังได้ลงนามในสัญญาเช่า 99 ปี สำหรับเกาะซัวคิน กับประธานาธิบดีตุรกี เรเจป ไตยิป เอร์โดอาน
ซึ่งเป็นความเคลื่อนไหว ที่ทำให้อียิปต์ และบรรดามหาอำนาจมุสลิมสุหนี่ ที่เป็นคู่แข่ง ต่างก็กังวลเกี่ยว กับอิทธิพลของกรุงอังการา ที่แผ่ขยายไปทั่วภูมิภาค ซึ่งข้อตกลงที่ ตุรกี ทำนี้มีไว้ สำหรับการบำรุงรักษาอาคาร ท่าเทียบเรือสำหรับเรือ และการปรับปรุงอาคารสมัยออตโตมัน บนเกาะ
ซึ่งกล่าวกันว่า ฟาโรห์รามเสส ที่ 2 ของอียิปต์ได้ขนานนามเกาะ ซัวคิน ว่าเป็น “เมืองสีขาว” เนื่องจากเป็นที่ตั้งของอาคาร ที่งดงามตระการตา ซึ่งสร้างจากหินปูน ที่สวยงาม ทั้งนี้เกาะซัวคิน เป็นหนึ่งในเกาะบริเวณทะเลแดงหลายแห่ง ที่ประเทศซูดาน ยึดครอง ซึ่งนักวิเคราะห์มองว่าเป็น “ส่วนสำคัญต่อความมั่นคงของประเทศ” โดยหมู่เกาะนี้ครอบคลุมพื้นที่ 23,100 ตารางกิโลเมตร เทียบเท่ากับขนาดของ ประเทศ จิบูตี เลยทีเดียว