

ประธานาธิบดีสหรัฐ โจ ไบเดน คาดว่าจะประกาศข่าวดี เกี่ยวกับการสนับสนุน กองทุนสภาพภูมิอากาศโลกเพื่อการแก้ไข ปัญหาภูมิอากาศ โดยมีมูลค่า กว่า 1 แสนล้านดอลลาร์ ตามการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่ ยูเอ็น เมื่อวันจันทร์หลังการประชุม
ทางด้านประธานาธิบดีไบเดน ซึ่งจะกล่าวสุนทรพจน์ ครั้งแรกต่อองค์กร ระดับโลก ในฐานะผู้นำอเมริกันในวันอังคารนี้ และมีจอห์น เคอร์รี ทูตด้านสภาพอากาศของเขา เป็นตัวแทนในการประชุม ที่จัดโดยสหราชอาณาจักรและอันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ เข้าร่วมด้วย
ในข้อตกลงปารีส ประเทศที่พัฒนาแล้วให้คำมั่น ที่จะระดมเงินทุน 100,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี เริ่มตั้งแต่ปี 2020 เพื่อสนับสนุนประเทศยากจน ด้วยการแก้ไขปัญหาภูมิอากาศ แต่ปัจจุบันยังขาดแคลนอยู่ราว 2 หมื่นล้านดอลลาร์ “
เราได้ยินจากตัวแทนของสหรัฐฯ ในห้องนั้นว่า…กำลังจะมีข่าวดีบางอย่างเข้ามา” เจ้าหน้าที่ของสหประชาชาติกล่าว พร้อมเสริมว่า “ความเห็น และสัญญาณเชิงบวก มาจากตัวแทนของสหรัฐ แน่นอนว่าเราไม่มีรายละเอียดในตอนนี้ แต่หวังว่าจะช่วยให้ชัดเจนขึ้น ว่าสหรัฐฯ
ตั้งใจที่จะแสดงความชัดเจนว่า จะมีการสนับสนุน การระดมเงินจำนวน 100,000 ล้านดอลลาร์ อย่างไร” สำหรับการประกาศดังกล่าว เป็นความหวังเล็กๆ น้อยๆ ในด้านสภาพอากาศ หลังจากรายงานทางวิทยาศาสตร์ ล่าสุดจำนวนหนึ่ง ได้แสดงให้เห็นอนาคต ของโลกที่มืดมน
ในขณะที่ผู้ก่อมลพิษ อันดับต้นๆ ของโลกยังคงปล่อยก๊าซ เรือนกระจก ในอัตราที่น่าตกใจ ทางด้านนายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสัน แห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นเจ้าภาพร่วม ในการประชุมในครั้งนี้ ได้นำบรรดาตัวแทนจากประเทศต่างๆ ในการทำตามคำมั่นสัญญา สำหรับกองทุนนี้
ซึ่งตั้งใจจะมอบเงิน 100,000 ล้านดอลลาร์ทุกปี ตั้งแต่ปี 2020 ถึง พ.ศ. 2025 “ทุกคนพยักหน้า และเราทุกคนต่างเห็นพ้องต้องกันว่า เราต้องทำอะไรสักอย่าง แต่ผมขอสารภาพ ว่าผมรู้สึกหงุดหงิดมากขึ้นเรื่อยๆ ที่สิ่งที่คุณหลายๆ คนทำไปนั้นยังไม่เพียงพอ” เขากล่าวเสริม และตั้งข้อสังเกตในเรื่องนี้
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว กองทุนสภาพภูมิอากาศโลก ยืนยันว่ามีการระดมเงินเพียง 79.6 พันล้านดอลลาร์ในปี 2019 “เราได้ยินมาจาก ข่าวประเทศอุตสาหกรรม บางประเทศ… เกี่ยวกับสัญญาณ ความคืบหน้าจางๆ” จอห์นสันบอกกับผู้สื่อข่าว หลังการประชุม โดยกล่าวถึงสวีเดน และเดนมาร์ก
ทั้งสองประเทศ ได้ประกาศว่า พวกเขาจะจัดสรรเงิน 50% หรือมากกว่าของเงินทุนด้าน สภาพอากาศเพื่อการแก้ไขปัญหาภูมิอากาศนี้ในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งเป็น อีกเป้าหมายสำคัญของ สหประชาชาติ “เรามาดูกันว่าประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาจะพูดอะไรในวันพรุ่งนี้” นายกรัฐมนตรี บอริส จอห์นสัน จากอังกฤษกล่าวปิดท้าย