ออสเตรเลีย ฉีกข้อตกลงจัดซื้อ เรือดำน้ำ จากฝรั่งเศส

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ออสเตรเลีย เพิกเฉยต่อความไม่พอใจของจีนที่มีต่อการตัดสินใจซื้อเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ ประธานาธิบดี โจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ ประกาศถึงการเป็นพันธมิตร ด้านการป้องกันประเทศระหว่างออสเตรเลีย-สหรัฐฯ-อังกฤษ เมื่อวันพุธ
โดยได้ทำการถ่ายทอดเทคโนโลยีเรือดำน้ำนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ ไปยังออสเตรเลีย เช่นเดียวกับการป้องกันทางไซเบอร์ และความสามารถทางการรบ ในทะเลให้มีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น
ทางด้านฝรั่งเศส ยังคงขุ่นเคืองในการเคลื่อนไหวดังกล่าว เนื่องจากก่อนหน้านี้ได้บรรลุข้อตกลง สำหรับกับทางการออสเตรเลีย ในการจัดหาเรือดำน้ำแบบธรรมดาให้กับออสเตรเลีย และมีการตอบโต้
โดยเรียก เอกอัครราชทูตประจำกรุงวอชิงตัน และแคนเบอร์รา กลับประเทศเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาเพื่อประท้วง ส่วนทางด้านรัฐบาลปักกิ่ง อธิบายว่าพันธมิตรใหม่ เป็นภัยคุกคาม และขาดความรับผิดชอบอย่างยิ่งต่อเสถียรภาพในภูมิภาค และเตือนพันธมิตรตะวันตก ว่า พวกเขาเสี่ยงที่จะทำร้ายตัวเองทางอ้อม

ทางด้าน ออสเตรเลีย แย้งว่า พวกเขามีสิทธิเลือก สิ่งที่ดีที่สุด และเหมาะสมสำหรับตัวเอง
จีน มีการดำเนินโครงการ ที่สำคัญมาก สำหรับการสร้างเรือดำน้ำนิวเคลียร์ของตัวเอง ทางด้านนายกรัฐมนตรีออสเตรเลียสกอตต์ มอร์ริสัน โต้แย้งเมื่อวันศุกร์ในการให้สัมภาษณ์กับสถานีวิทยุ 2GB “พวกเขามีสิทธิทุกอย่างในการตัดสินใจ เพื่อผลประโยชน์ของชาติ สำหรับการเตรียมการป้องกันประเทศ
และแน่นอนว่า ออสเตรเลีย และประเทศอื่นๆ ทั้งหมดก็เช่นกัน” เขากล่าว ในการสัมภาษณ์กับสื่อต่างๆ ผู้นำออสเตรเลีย กล่าวว่า รัฐบาลของเขากำลังตอบสนอง ต่อการเปลี่ยนแปลง ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่ซึ่งอาณาเขต มีการโต้แย้งกันมากขึ้น และการแข่งขันก็เพิ่มสูงขึ้น
ออสเตรเลีย ได้ตระหนักถึง ความสามารถของเรือดำน้ำนิวเคลียร์ ของจีน และการลงทุนทางทหารที่เพิ่มขึ้น เขากล่าวกับสถานีโทรทัศน์ Channel Seven “เราสนใจที่จะทำให้แน่ใจว่า น่านน้ำสากล เป็นน่านน้ำสากล เสมอ และท้องฟ้าระหว่างประเทศ ก็คือท้องฟ้าสากล และหลักนิติธรรม ก็บังคับใช้อย่างเท่าเทียมกัน ในสถานที่เหล่านี้ทั้งหมด” เขากล่าว
ออสเตรเลียต้องการให้แน่ใจว่าไม่มี “เขตห้ามเข้า” ในพื้นที่ที่อยู่ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ

นายกรัฐมนตรีมอร์ริสันกล่าวสำหรับประเด็นนี้ว่า “นั่นสำคัญมาก ไม่ว่าจะเป็นเพื่อการค้า ไม่ว่าจะเป็นสายเคเบิลใต้น้ำ สำหรับเครื่องบิน และที่ที่สามารถบินได้ ผมหมายความว่านั่นคือระเบียบที่เราต้องรักษา นั่นคือสิ่งที่สันติภาพ และความมั่นคงจัดเตรียมไว้ และนั่นคือ สิ่งที่เรากำลังมองหาเพื่อให้บรรลุ”
ทั้งนี้ ความเคลื่อนไหวของออสเตรเลียทำให้ฝรั่งเศสโกรธเคือง ซึ่งทำให้พวกเขาสูญเสีย ข้อตกลงในการจัดหาเรือดำน้ำแบบธรรมดา ให้กับออสเตรเลียซึ่งมีมูลค่า 50 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (36.5 พันล้านดอลลาร์) ที่ได้มีการลงนามกันเมื่อปี 2016 ที่ผ่านมา โดยนาย ฌอง-อีฟว์ เลอ ดริยอง รัฐมนตรีต่างประเทศออสเตรเลีย กล่าวว่า
มันเป็นการแทงข้างหลัง จากออสเตรเลีย ทางด้าน รัฐมนตรีกิจการยุโรปของฝรั่งเศส คลิเมนต์ โบเน กล่าวเมื่อวันศุกร์ว่าปารีสไม่สามารถไว้วางใจแคนเบอร์ราในการเจรจาข้อตกลงการค้าของสหภาพยุโรปที่กำลังดำเนินอยู่ ก่อนที่จะตัดสินใจเรียกเอกอัครราชทูตของฝรั่งเศสกลับประเทศ
นางมารีส เพย์น รัฐมนตรีต่างประเทศออสเตรเลีย ในกรุงวอชิงตัน_ดี.ซี. กล่าวว่า เธอเข้าใจความผิดหวังของปารีส และหวังว่าจะทำงานร่วมกับฝรั่งเศส เพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาเข้าใจถึง “คุณค่าที่เราให้ไว้กับความสัมพันธ์ทวิภาคี และงานที่เราต้องการจะร่วมกันทำต่อไป”
ติดตามข่าว ต่างประเทศ